GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 22 ฉบับที่ 2-3 พฤษภาคม-ธันวาคม 2023 (77-79)

ศักยภาพและความต้องการรับบริการวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ

The Potential and Need for Academic Services to Improve the Elderly’s Quality of Life.

Abstract

คาดการณ์ว่า ใน พ.ศ. 2576 ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุระดับสุดยอด โดยมีผู้สูงอายุร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ การเข้าสู่สังคมสูงอายุมีผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศและการเจริญเติบโต ทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาว เมื่อผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงในทางเสื่อมถอย การได้รับบริการวิชาการผ่านกิจกรรมด้านสุขภาพ การรวมกลุ่ม การทำงาน การให้ความรู้ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม จะส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทั้งทางด้านสุขภาพ การมีส่วนร่วมในสังคม ความมั่นคงในชีวิต และความสามารถที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นการศึกษาศักยภาพผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุจึงมีความสำคัญ วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษา 1) ระดับศักยภาพของผู้สูงอายุ และความต้องการรับบริการวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จำแนกตามช่วงอายุ 2) ความสัมพันธ์ระหว่าง ช่วงอายุ ศักยภาพ และความต้องการรับบริการวิชาการของผู้สูงอายุ การวิจัยในครั้งนี้ ใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เลือกกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เป้าหมายการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุเขตทุ่งครุ เขตบางขุนเทียน จ.กรุงเทพฯ และตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จ.ราชบุรี จํานวน 314 คน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามศักยภาพของผู้สูงอายุ และแบบสอบถามความต้องการรับบริการวิชาการ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.799 และ 0.935 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย ระดับศักยภาพของผู้สูงอายุ และความต้องการรับบริการวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ จำแนกตามช่วงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุตอนต้น ตอนกลางและตอนปลาย มีศักยภาพ และความต้องการรับบริการวิชาการ ระดับปานกลาง โดยมีค่าเฉลี่ยศักยภาพเท่ากับ 2.28 2.24 และ 1.93 ตามลำดับ และมีค่าเฉลี่ยความต้องการรับบริการวิชาการเท่ากับ 2.12 2.06 และ 1.74 ตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างช่วงอายุ ศักยภาพ และความต้องการรับบริการวิชาการของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุตอนต้นมีความสัมพันธ์ทางบวกกับศักยภาพ และความต้องการรับบริการวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ ผู้สูงอายุตอนกลางมีความสัมพันธ์ทางบวกกับกับศักยภาพ และความต้องการรับบริการวิชาการ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และผู้สูงอายุตอนปลายมีความสัมพันธ์ทางลบกับศักยภาพ และความต้องการรับบริการวิชาการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 จากผลการวิจัยสรุปได้ว่า ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีศักยภาพและมีความต้องการรับบริการวิชาการระดับปานกลาง จึงควรส่งเสริมกิจกรรมบริการวิชาการ เช่น กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมชมรม การฝึกอาชีพ การให้ความรู้และการเข้าถึงสื่อ การพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเหลือในการดำรงชีวิต และการปรับปรุงสภาพแวดล้อม เป็นต้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุ

In 2033, Thailand is anticipated becoming a super-aged society with 28 percent of the elderly of the total population. Becoming an aging society can affect long-term development and economic growth rate of the country. When the elderly deteriorate, having academic services through activities such as health promoting, group joining, knowledge supports, and a suitable environment can promote their potential in several ways including health, social participation, stability, and abilities which enable them to live with good quality. Therefore, a study of the elderly’s potential to promote and improve their quality of life that is related to their needs is essential. The objectives of this research are to study 1) the levels of the elderly’s potential and the needs of academic services to improve their quality of life categorized by the different age ranges and 2) the correlations among the elderly’s age range, potential, and the needs of academic services. A methodology used was survey research with a purposive sampling, and the selected groups were the elderly who live in the target areas for academic services of King Mongkut’s University of Technology Thonburi. The participants of this research were 314 elderly from two districts in Bangkok namely Thungkru and Bangkhuntien, and another district called Chombueng in Ratchaburi province. The data was collected by a questionnaire regarding the elderly’s potential and another one is about the needs of academic services. The reliability of the questionnaire was 0.799 and 0.935 respectively. The data was statistically analyzed by frequency distributions, percentage, standard deviation, and Pearson Correlation Coefficient. The results of the elderly’s potential level and their needs of academic services to improve their quality of life which are categorized by the range of age as an early, middle, and late elderly indicated that their potential and the needs of academic services were in a moderate level. The average value of the potential was 2.28, 2.24 and 1.93 respectively, and the average value of the needs of academic services was 2.12, 2.06, and 1.74 respectively. In terms of correlations among the age ranges, potential, and the needs of academic services, it was found that the early elderly have the positive correlation towards their potential, and the needs of academic services statistically significant at the 0.01 and 0.05 level respectively. The middle elderly have positive correlations towards the potential and the needs of academic services with no statistical significance at the 0.01 level, and the late elderly have negative correlations towards the potential and the needs of academic services at the statistical significance level of 0.001. In conclusion, the elderly are the people who have potential and the needs of academic services in moderate level, so a variety of activities related to academic services such as health promoting, clubs, knowledge and media accessibility, equipment that supports their living and the surrounding improvement should be provided in order to promote a good quality of their lives.

Keyword

ศักยภาพผู้สูงอายุ ความต้องการรับบริการวิชาการ ผู้สูงอายุ

Elderly, Potential, Academic services

Download:

References

  1. -