GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2561 (37-45)

การสำรวจความพึงพอใจของญาติต่อการดูแลผู้ป่วยวิกฤตในหอผู้ป่วยสามัญ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช

Survey of Family Satisfaction with Delivered Care in Terminally Ill Patients at Siriraj Hospital

Abstract

ความเป็นมา ผู้ป่วยระยะวิกฤต (Critically ill patients) อันหมายถึงผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงในระบบต่าง ๆ ของร่างกาย จัดเป็นกลุ่มผู้ป่วย ที่มีความยุ่งยากซับซ้อนในการดูแล มีจำเป็นที่จะต้องได้รับการดูแลอย่างเป็นองค์รวมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจรวมไปถึงการให้ความรู้ความเข้าใจให้กับครอบครัวควบคู่กันไปด้วย ในปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว ยังเป็นเรื่องที่ท้าทายและยังอาจไม่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำการสำรวจความพึงพอใจของญาติผู้ป่วย เพื่อให้ทราบถึงปัญหาที่เกิดขึ้นอันนำมาสู่แนวทางแก้ไขต่อไป วิธีการศึกษา ผู้จัดทำได้ทำการศึกษาโดยการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างโดยมีคำถามที่สอบถามความพึงพอใจในด้านต่างๆ ร่วมกับมีคำถามปลายเปิด ญาติของผู้ป่วยระยะวิกฤตที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยสามัญ ภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช ในช่วงที่ทำการศึกษา ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2554 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2555 รวมเวลา 9 เดือน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 50 คน โดยทำการสัมภาษณ์ญาติผู้ป่วย ครั้งแรกภายใน 96 ชั่วโมงหลังเข้าโรงพยาบาล และสัมภาษณ์อีกครั้งหลังผู้ป่วยกลับบ้านหรือเสียชีวิตโดยได้ขอความยินยอมญาติในการโทรศัพท์ไปสอบถามญาติของผู้ป่วย ผลการสัมภาษณ์ญาติของผู้ป่วยนำมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ผลการศึกษา กลุ่มญาติของผู้ป่วยที่เข้ารับการศึกษา 50 คน พบว่าญาติมีความรู้สึกว่า ผู้ป่วยยังมีอาการไม่สบายตัวในด้านต่าง ๆ หลายด้าน โดยด้านที่เป็นปัญหาในอันดับต้น ๆ ได้แก่ ผู้ป่วยยังมีอาการเหนื่อยอยู่ ร้อยละ 46% มีปัญหาในการรับประทานอาหารอยู่ ร้อยละ 26 และมีญาติร้อยละ 22% ที่เห็นว่าผู้ป่วยยังมีความเจ็บปวด รวมถึงมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ เมื่อถามถึงความพึงพอใจในภาพรวม ญาติมีความพอใจในการดูแลรักษาในระหว่างที่อยู่โรงพยาบาลและหลังสิ้นสุดการรักษาเป็นสัดส่วน ร้อยละ 82 และร้อยละ 96% ตามลำดับ ญาติมีความเข้าใจดี ถึงโรคและการดำเนินโรคของผู้ป่วยในระหว่างอยู่โรงพยาบาล และหลังสิ้นสุดการรักษาในสัดส่วน ร้อยละ 56% และร้อยละ 78% ตามลำดับ การให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยนั้น ได้ครอบคลุมถึงการทำหัตถการช่วยชีวิต เช่น การนวดหัวใจหากหัวใจหยุดเต้น (ร้อยละ 58%), การใส่เครื่องช่วยหายใจ (ร้อยละ 74%), ร้อยละ 70 ของญาติให้ความเห็นว่าแพทย์ได้เปิดโอกาสให้สอบถามข้อมูลผู้ป่วยในระหว่างอยู่โรงพยาบาล และสัดส่วนเพิ่มเป็นร้อยละ 80% หลังสิ้นสุดการรักษา สรุป ผลการศึกษาความพึงพอใจของญาติในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต พบว่ามีความพึงพอใจในระดับสูง และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับความพึงพอใจของญาติก่อนและหลังจากหลังจากสิ้นสุดการรักษาพบว่าจำนวนญาติที่พอใจการรักษามีจำนวนเพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการรักษา โดยที่ญาติยังเห็นว่าผู้ป่วยยังมีอาการไม่สบายตัวอยู่ แสดงว่าการสื่อสารที่ดี สามารถสร้างความพึงพอใจให้กับญาติผู้ป่วยวิกฤตได้ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่แพทย์ควรคำนึงถึง ในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต

Background Critically ill patients refer to patients with serious illnesses in various systems of the body whom regard as requiring high level of care with complexity in managing. Holistic care included physical and mental aspects are essential, as well as carrying out adequate counseling and supports for families about patients’ condition and progression. Nowadays, caring of this group of patients pose many challenges issues and is possibly not very efficient. The study therefore aimed to survey the relative’s satisfaction and hope to unveil the patient’s care problems that will lead us to the solutions. Methods The authors conducted a semi-structured interview with families of critically ill patients who admitted to general medical wards at Siriraj hospital. The study was conducted between 1 June 2011 and 28 February 2012. Fifty participants were included and interviewed within 96 hours after the patient’s admission, and the second interviews were conducted after the patients had discharged from hospital or died using telephone interview. All results were analyzed by descriptive analysis. Results Fifty relatives of critically ill patients were interviewed. Uncomfortable symptoms were observed at various proportions. The most common symptom was dyspnea at 46%, followed by eating problem at 26%, pain and sleeping problems both at 22%. When we enquired for overall satisfaction, relatives reported that they were satisfied with patients’ care during admission and after hospitalization at 82% and 96%, respectively. The proportion of the relatives who reported being well informed about patient’s condition and disease progression during and after hospitalization were 56% and 78%, respectively. The information about life saving procedures provided to the relatives cover CPR at 58% and intubation at 74%. The relatives who mentioned that doctor has provided them adequate time for questioning about patient’s condition during and after treatment were 70% and 80%, respectively. Conclusions The authors found high level of satisfaction in patients’ care among the relatives of critically ill patients. The level of satisfaction was increased from hospitalization to post-discharge despite of substantial level of discomfort symptoms reported by families. The results emphasized the important of good communication and counseling that physicians should be aware of when taking care of critically ill patients.

Keyword

ทัศนคติของญาติ, ความคิดเห็นของญาติ, ความพึงพอใจในการดูแลผู้ป่วยวิกฤต, ผู้ป่วยระยะท้ายของชีวิต

Attitude of relatives, Reviews of relatives, Satisfaction in caring for critically ill patients, End of life patients

Download: