GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 17 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2561 (53-61)

การศึกษาค่ากำลังกล้ามเนื้อมือในผู้สูงอายุในชุมชน

The Study of Grip Strength in Community-Dwelling Thai Elderly

Abstract

กำลังกล้ามเนื้อมือในผู้สูงอายุมีประโยชน์ การประเมินทำได้ง่าย สะดวก สามารถใช้เป็นตัวทำนายพยากรณ์โรคและเป็นตัวชี้บ่งถึงผลลัพธ์ของการรักษาในบางโรคงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่ากำลังกล้ามเนื้อมือในผู้สูงอายุในชุมชนอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามรวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ทำการประเมินกำลังกล้ามเนื้อมือด้วยเครื่อง Jamar hand-held dynamometer ผู้ร่วมวิจัยใช้มือข้างถนัดบีบก้านของเครื่องให้แรงที่สุดเท่าที่ทำได้ 2 ครั้ง มีระยะพัก 2 นาที เลือกค่าที่มากที่สุด ค่าปกติของกำลังกล้ามเนื้อมือในเพศชายเท่ากับ 26 กิโลกรัม ส่วนเพศหญิงมีค่าเท่ากับ 18 กิโลกรัมวิเคราะห์หาค่ากำลังกล้ามเนื้อมือแยกตามเพศ ตามอายุ และตามช่วงอายุต่าง ๆ รวมถึงวิเคราะห์หาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกายและกำลังกล้ามเนื้อขาควอดไดรเซฟผลการศึกษามีผู้ร่วมโครงการจำนวน 243 ราย ผู้ที่มีกำลังมือน้อยกว่าค่าปกติร้อยละ 36.6 (95%CI: ร้อยละ 30.8-42.8)ค่าเฉลี่ยกำลังกล้ามเนื้อมือของผู้สูงอายุในชุมชนคือ 22.2±7.0 กิโลกรัม เพศชายมีค่ากำลังกล้ามเนื้อมือมากกว่าเพศหญิง (27.9±8.1 กิโลกรัม และ 20.2±5.2 กิโลกรัม ตามลำดับ) กำลังกล้ามเนื้อมือลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น (23.8±6.9 กิโลกรัม ในช่วงอายุ 60-69 ปี,20.6±6.8 กิโลกรัม ในช่วงอายุ 70-79 ปี, และ 18.6±5.1 กิโลกรัม ในช่วงอายุมากกว่า 80 ปี) มีเพียงสองปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกำลังกล้ามเนื้อมือ คือ อายุ และกำลังกล้ามเนื้อขาควอดไดรเซฟ ด้วยค่า adjusted odds ratio เท่ากับ 3.27 (95%CI: 1.75, 6.11) ในกลุ่มอายุ 70-79 ปี และ4.47 (95%CI: 1.71, 11.70) ในกลุ่มอายุที่มากกว่า 80 ปี และ 3.02 (95%CI: 1.53, 5.95) สำหรับผู้ที่มีกล้ามเนื้อขาน้อยกว่าปกติโดยสรุปกำลังกล้ามเนื้อมือในผู้สูงอายุเพศชายที่อาศัยในชุมชนมีค่ามากกว่าเพศหญิง และกำลังกล้ามเนื้อมือลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้นทั้งในเพศหญิงและชาย ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับกำลังกล้ามเนื้อมือคือ อายุและกำลังกล้ามเนื้อขาควอดไดรเซฟควรมีการตรวจวัดกำลังกล้ามเนื้อมือในผู้สูงอายุเพื่อการคัดกรองสุขภาพตั้งแต่ระยะแรก โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 80 ปี

Hand grip strength in the elderly is useful as it can be easily and quickly evaluated. In addition, it can be used as a predictor or indicator for outcome of treatment in some diseases. Therefore, our study aimed to investigate the hand grip strength in the elderly in the community at Amphawa district, SamutSongkhram Province and related factors. Demographic data was recorded. Hand grip strength was measured by Jamar hand-held dynamometer (Perston Jackson, Michigan, 49203, USA). The participant was asked to squeeze the stalk of the hand-held dynamometer as strong as they can twice with 2 minutes rest. The highest value was selected. The normal value for grip strength in male and female were 26 and 18 kilograms respectively. Hand grip strength was analyzed according by age and sex. Factors related to grip strength was analyzed including sex, age, body mass index and quadriceps strength. According to studies, it has been found that 243 participants were recruited with 74.5% female and average age of 69.7±6.9 years. Prevalence of low grip strength was 36.6% (95% CI: 30.8-42.8%). The mean grip strength of the participant was 22.2 ±7.0 kg. The male had greater hand grip strength than female (27.9±8.1 kg. and 20.2±5.2 kg, respectively). Grip strength decreased with increasing age (23.8±6.9 kg in 60-69 years, 20.6±6.8 kg. in 70-79 years and 18.6±5.1 kg. in age over 80 years). There are two factors related to low grip strength including age and quadriceps strength with the adjusted odd ratio 3.27 (95%CI: 1.75, 6.11) in age 70-79 year; 4.47 (95% CI: 1.71, 11.70) in age more than 80 years and 3.02 (95% CI: 1.53, 5.95) in low quadriceps strength group. In conclusion, grip strength in community aging male is more than aging female. It decreases with increasing age in both genders. Factors related to grip strength are age and Quadriceps strength. Grip strength measurement is recommended for screening in elderly living in the community, especially age more than 80 years.

Keyword

กำลังกล้ามเนื้อมือ ผู้สูงอายุ ชุมชน ปัจจัย

Hand grip strength, elderly, community, factor

Download: