GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 18 ฉบับที่ 2-3 พฤษภาคม-ธันวาคม 2562 (90-101)

ผลของการส่งเสริมทันตสุขภาพในคนพิการโดยการเยี่ยมบ้านโดยทันตบุคลากร และไม่ใช่ทันตบุคลากร ของอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

The Effects of Dental Health Promotion Among Disabled Persons Through Home Visits by Dental and Non-Dental Personnel in Bang Rakam District, Phitsanulok Province

Abstract

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพและสภาวะทันตสุขภาพของคนพิการก่อนและหลังการส่งเสริมทันตสุขภาพโดยการเยี่ยมบ้านด้วยทันตบุคลากรและไม่ใช่ทันตบุคลากรของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และศึกษาความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อการส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้านในอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ คนพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางกาย อาศัยในอำเภอบางระกำ จำนวน 84 คน ได้จากการสุ่มพื้นที่ตามขนาดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่มีทันตบุคลากร กับไม่มีทันตบุคลากร แล้วจึงเลือกคนพิการตามเกณฑ์ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบบันทึกผลการตรวจประเมินสภาวะทันตสุขภาพ ที่มีค่าความตรง 0.67 และความเที่ยง 0.77 และเครื่องมือในการทดลองคือโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้าน ซึ่งกลุ่มทดลองดำเนินการด้วยทันตบุคลากร ส่วนกลุ่มควบคุมดำเนินการด้วยเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทันตบุคลากร เก็บข้อมูลก่อนและหลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพ 4 สัปดาห์ วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบที ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพและสภาวะทันตสุขภาพคนพิการในการควบคุมแผ่นคราบจุลินทรีย์ หลังการส่งเสริมทันตสุขภาพโดยการเยี่ยมบ้านทั้งในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมดีกว่าก่อนการเยี่ยมบ้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และด้านความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ต่อการส่งเสริมทันตสุขภาพคนพิการโดยการเยี่ยมบ้าน ทั้งทันตบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่ไม่ใช่ทันตบุคลากรระบุว่าการให้ความรู้เป็นสิ่งสำคัญในการให้ทันตสุขศึกษาคนพิการ และควรมีการให้บริการเชิงรุกเพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพในคนพิการ โดยสรุปภายหลังการได้รับโปรแกรมส่งเสริมทันตสุขภาพทำให้สภาวะทันตสุขภาพดีขึ้น โดยเฉพาะในด้านผลรวมของค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ทั้งสองกลุ่มที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

This quasi-experimental study aimed to compare dental health behaviours and dental health status of disabled persons before and after implementing a dental health promotion programme through home visits by dental and non-dental personnel of sub-district health promoting hospital and study the opinions of personnel on dental health promotion for disabled persons through home visits, in Bang Rakam district, Phitsanulok province. The study was conducted on a sample of 84 persons with physical or mobility impairments living in Bang Rakam district, randomly selected according to the area sizes of sub-district health promoting hospitals with and without dental personnel, then choose the disabled according to the criteria in the experimental group and control group. The tools used to collect data are questionnaires and records of dental health status, the validity of 0.67 and reliability 0.77 and the experimental instrument is the dental health promotion program for the disabled by home visits. Which the experimental group operated with dental personnel, the control group operated with non dental personnel. Data collection before and after 4 weeks of receiving dental health promotion program was analyzed using descriptive statistics and t test. The results of the study showed that dental health behavior and dental health status of disabled persons in bacterial plaque control after dental health promotion by home visits in both groups better than before (p<0.001) and the opinions of the staff on dental health promotion for the disabled by home visits, It was found that the personnel indicated that education was important in providing dental health education for disabled and should increase access to health services in disabled. In conclusion the dental health status were improved after receiving the dental health promotion program, especially in the plaque index score in both groups with different statistical significance at the level of .001

Keyword

คำสำคัญ คนพิการ, ความเชื่อในความสามารถ, พฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพ, สภาวะทันตสุขภาพ

Keywords: disabled, self-efficacy, dental health behaviours, dental health status

Download: