GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 19 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2020 (121-133)

การศึกษาภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้สูงอายุโรคมะเร็งหลังได้รับยาเคมีบำบัด

A Study of Oral Mucositis in Elderly Cancer Patients after Receiving Chemotherapy

Abstract

ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนในช่องปากที่สำคัญหลังรับยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทำให้เกิดแผลและอาการเจ็บในช่องปาก ส่งผลให้รับประทานอาหารลดลง เกิดภาวะทุพโภชนาการ ภูมิคุ้มกันต่ำ นำไปสู่การกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำ ภาวะแทรกซ้อนนี้หากเกิดในผู้ป่วยกลุ่มพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งที่มักเป็นกลุ่มที่มีร่างกายอ่อนแอ จะมีแนวโน้มการเกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในระดับรุนแรง เนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มนี้มีปัจจัยเสี่ยงมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยทั่วไป การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์เกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์จำนวน 33 คนซึ่งมีผู้เก็บข้อมูลจำนวน 1 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบบันทึกส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะโภชนาการ (MNA) และแบบประเมินภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก (WHO1979) ติดตามเป็นระยะเวลา 3 รอบการรักษาและใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์เกิดภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ 30 คน (ร้อยละ 90.9) ลักษณะผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้แก่ เพศหญิง มีโรคมะเร็งทางเดินอาหาร มีคะแนน MNA 8-11 คะแนน เป็นโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดและได้รับยาเคมีบำบัดที่มีส่วนประกอบหลักเป็น 5-FU ดังนั้นควรมีการติดตามและป้องกันภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยสูงอายุโรคมะเร็งที่มีลักษณะดังกล่าวหลังได้รับยาเคมีบำบัดอย่างใกล้ชิด การตรวจช่องปากผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอในทุกรอบของการรักษาเป็นสิ่งสำคัญ และทันตแพทย์สาขาทันตกรรมผู้สูงอายุควรเป็นหนึ่งในทีมดูแลผู้ป่วยมะเร็งเพื่อให้การรักษาโรคมะเร็งประสบผลสำเร็จและเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Oral mucositis is a major complication in cancer patients undergoing chemotherapy. The complication can cause oral ulceration and burning sensation leading to decreased appetite, malnutrition, immunocompromisation, rehospitalization. Complication that occurred in special group of patient, especially in the elderly cancer patient which usually found weak and living with multiple risk factors in their daily life, may often prone to a high severity of oral mucositis. The purpose of this study was to investigate the incidence of oral mucositis in 33 elderly cancer patient who have received chemotherapy at Uttaradit hospital. Data were collected using demographic questionnaire, MNA malnutrition questionnaire, and World Health Organization (WHO 1979) mucositis scale by only one investigator. Three cycles of chemotherapy had been followed and then analyzed by descriptive statistics. Incidence of oral mucositis was found in 30 patients (90.9%) involved by major factors included sex (female), type of cancer (gastrointestinal cancer, MNA scores (score 8-11), cardiovascular disease, and 5-FU based chemotherapy. In conclusions, elderly group of cancer patient who have received chemotherapy must be closely monitored and be insured for oral mucositis. Regular oral check up should be done in those patients in every cycle of chemotherapy. Geriatric dentist should be included in the hospital’s oncology team for a more successful cancer treatment and for an improvement of quality of life of the patient.

Keyword

ภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบ, ยาเคมีบำบัด, ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยมะเร็ง

oral mucositis, chemotherapy, elderly, cancer patients

Download: