GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSNISSN 2697-4509 (Online)

GGM

Journal of Gerontology

and Geriatric MedicineISSN 2697-4509 (Online)

Article

ปีที่ 17 ฉบับที่ 1-2 มกราคม-สิงหาคม 2561 (1-9)

ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส

Knowledge, Attitude and Principle of Caregiver in Elderly Disability Care in Sungaikolok, Narathiwas

Abstract

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทัศนคติ และการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุในตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส เก็บข้อมูลในผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุทุกคนในตำบลสุไหงโก-ลก จำนวน 10 คน โดยใช้แบบประเมินความรู้ แบบสอบถามทัศนคติ และแบบประเมินการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ หาความสัมพันธ์เชิงลำดับของสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงอยู่ในระดับสูง สำหรับการประเมินการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ 5 ด้าน พบว่า ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุสามารถดูแลผู้สูงอายุเพื่อป้องการเกิดแผลกดทับสามารถดูแลเพื่อป้องกันข้อยึดติดและกล้ามเนื้อลีบและสามารถดูแลเพื่อป้องกันภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับสูง ด้านความสามารถในการดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และความสามารถในการดูแลเพื่อป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะสามารถปฏิบัติได้อยู่ในระดับปานกลาง การวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติ และการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง โดยสรุป ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงอยู่ในระดับสูง และทัศนคติมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

The objectives of the study were to describe knowledge, attitude, and Principles healthcare by Caregivers in elderly, and to examine the relationships among those three variables. Samples of 10 Caregivers in elderly who had agree. All sample Caregivers completed three questionnaires developed for the project. and three separated questionnaires of knowledge, attitude, and Principles healthcare by Caregivers in elderly. Statistical analyses used were descriptive statistics and Pearson product moment correlation. Results revealed that the average score of Caregivers’ knowledge, attitude, and Principles healthcare by Caregivers in elderly are at a high level of knowledge, a good attitude, and Principles healthcare by Caregivers . There was a significant relationship between attitude and practice.

Keyword

ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติ, ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง, ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ

-

Download: